วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศที่สำหรับชีววิทยา


ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics)





           ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) คือ ศาสตร์การเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแขนงใหม่ ซึ่งศึกษาโดยใช้การผสมผสานความรู้จาก อณูชีววิทยา(Molecular biology), พันธุศาสตร์(Genetics), ชีวเคมี(Biochemistry), จุลชีววิทยา(Microbiology), คณิตศาสตร์ประยุกต์, สถิติศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์(Informatics), และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดเก็บ,การประมวลผล และการสืบค้นข้อมูลทางชีววิทยาอย่างเป็นระบบ เพื่อใช้ในการตอบปัญหาต่างๆในทางชีววิทยา หรือ ทำการสร้างแบบจำลองต่างๆจากข้อมูลเหล่านั้นเพื่อทำนายความเป็นไปได้ในทางชีววิทยา ทำให้เกิดศาสตร์ใหม่ต่อๆมา อย่างเช่น จีโนมิกส์ (Genomics), โปรตีโอมิกส์ (Proteomics), เมตาบอโลมิกส์ (Metabolomics) เป็นต้น



เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน



เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจำวัน




1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับชีวิตประจาวัน ในชีวิตประจําวันเราต้องเจอกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากมายเลยครับ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีผลกับ เรา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนในโรงเรียนจะมีการนําคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการ เรียนรู้ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจําเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จําเป็นต้อง ใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจําลองรูปแบบ สภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ําในแม่น้ําต่าง ๆ การตรวจวัด มลภาวะ เป็นต้น ในการแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมก็จําเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและ การจัดการ การดําเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น จะเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจําวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สําคัญมากยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู




                                        เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับครู 

            ความรู้ความสามารถของครูเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ในการใช้คอมพิวเตอร์ของครู มีครูที่มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 31.26 ใช้ Internet ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 35.09 และการบูรณาการเทคโนโลยีกับวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับพื้นฐานคิดเป็นร้อยละ 31.57 ใช้เทคโนโลยีประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับพื้นฐาน คิดเป็นร้อยละ 37.27 แสดงให้เห็นว่าครูยังมีความรู้ ความสารถด้านเทคโนโลยีเพียง ในระดับพื้นฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีไม่เป็น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่าครูส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมากแล้วและไม่มีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีมาก่อนจึงทำให้เกิดการพัฒนาตนเองค่อนข้างช้ามาก โดยเฉพาะในเรื่องของการตั้งกลุ่มเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเกือบจะไม่ได้ทำเลย และครูส่วนมากก็ไม่นำเทคโนโลยีไปบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าครูไม่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีตลอดจนไม่สามารถติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องได้


ความหมายเเละความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ



                                                 นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ



          
                                                ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ      


         Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
         1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
            2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

                                              ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

      สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้

ประวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ


ที่มาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
       

             มนุษย์มีความพยายามที่จะพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารมาตั้งแต่เริ่มกำเนิดของมนุษยชาติไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาภาษาพูด หรือการติดต่อโดยการใช้รหัสอื่นๆ เช่น มือ หรือท่าทางต่างๆ  คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนังถ้ำ จนกระทั่งการพัฒนาภาษาเขียนที่เป็นสัญลักษณ์และตัวอักษร นอกจากการพัฒนาการสื่อสารดังกล่าวแล้ว มนุษย์ก็ยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารทางไกล ซึ่งเกิดขึ้นจากการขยายเผ่าพันธุ์ที่มีจำนวนมากขึ้น การโยกย้ายเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่ทำให้เกิดความจำเป็นในการติดต่อสื่อสารทางไกล ด้วยความสามารถในการบันทึกข้อความหรือข่าวสารลงในกระดาษหรืออุปกรณ์อื่นๆ ทำให้มนุษย์พัฒนาระบบไปรษณีย์ขึ้นเพื่อใช้เป็นบริการในการติดต่อสื่อสารข่าวสารข้อมูลทางไกล และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการรับส่งข่าวสารให้รวดเร็วยิ่งขึ้น